บทที่ 1 โครงสร้างโลก

                                            บทที่ 1 โครงสร้างโลก

1.1การศึกษาโครงสร้างของโลก
ที่มา http://www.chaiyatos.com/geol22.jpg
- โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจาการหมุนวนของฝุ่น    และแก๊สในอวกาศ เรียกว่า เนบิวลา  
- จากการรวบรวมทฤษฎีและหลักการต่างๆ มาได้ 300 ปีเซอร์ ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบการคำนวณหาความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกจากหินบนพื้นผิวโลกโดยให้คำอธิบายว่า ความหนาแน่นของโลกจะมีค่าเป็น 2เท่าของความหนาแน่นของหินบนผิวโลก
- อีก 100ปีต่อมา ได้มีการสำรวจแบ่งชั้นของโลกด้วยการขุดเจาะ และตรวจสอบจาการระเบิดของภูเขา
- การศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก คลื่นที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ คลื่นปฐมภูมิ (P waves) และคลื่นทุติยภูมิ (S waves) ซึ่งเป็นคลื่นในตัวกลาง โดยที่คลื่นไหว           สะเทือนดังกล่าวมีสมบัติสำคัญ ดังนี้
      คลื่น P สามารถที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S

     คลื่น S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น

ที่มา http://uc.exteenblog.com/earthstruct/images/1_1.jpg

 1.2การแบ่งโครงสร้างโลก
-ธรณีภาค (lithosphere) เป็นชั้นนอกสุดของโลก พบว่าคลื่น P และคลื่น S จะเคลื่อนที่ผ่านธรณีภาคด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6.4-8.4 กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.74.8กิโลเมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดยทั่วไปชั้นนี้มีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร จากผิวโลกประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นของแข็ง
-ฐานธรณีภาค (asthenosphere) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออก   ได้เป็น 2 บริเวณ คือ
         -เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง (low velocity zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือน P และ S มีความเร็วลดลง เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 100400 กิโลเมตร จากผิวโลก และเนื่องจากบริเวณนี้ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก (อุณหภูมิและความดันบริเวณนี้ทำให้แร่บางชนิดที่อยู่ในหินเกิดการหลอมตัว เล็กน้อย) และวางตัวอยู่ส่วนล่างของธรณีภาค
         -เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง (transitional zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 400660 กิโลเมตร จากผิวโลก เนื่องจากหินบริเวณส่วนล่างของฐานธรณีภาคเป็นของแข็งที่แกร่ง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่
-มีโซสเฟียร์ (mesosphere) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ฐานธรณีภาค และเป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ เนื่องจากหิน หรือสาร บริเวณส่วนล่างของมีโซสเฟียร์มีสถานะเป็นของแข็ง   มีความลึกประมาณ 660-2,900 กิโลเมตร จากผิวโลก
-แก่นโลกชั้นนอกและแก่นโลกชั้นใน
         -แก่นโลกชั้นนอก (outer core) เป็นชั้นที่อยู่ใต้มีโซสเฟียร์มีความลึกประมาณ 2,900-5,140กิโลเมตร จากผิวโลว คลื่น P มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะที่คลื่น S ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านชั้นดังกล่าวได้
         -แก่นโลกชั้นใน (inter core) อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5,140 กิโลเมตร จนถึงจุดศูนย์กลางของโลก คลื่น P และ S มีอัตราเร็วค่อนข้างคงที่ เนื่องจากแก่นโลกชั้นในเป็นของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน  
-เปลือกโลก( Crust)เป็นชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีความหนาระหว่าง 6-35 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
          -เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยโปรแตสเซียม อะลูมิเนียม ซิลิเกตและซิลิกอนไดออกไซด์ เป็นส่วนใหญ่  ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL)

           -เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วย แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม และซิลิเกต เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA)
ที่มา ไม่ทราบ
รอยต่อระหว่างเปลือกโลกกับเนื้อโลกหรือแนวบ่งเขตโมโฮโรวิชิก (mohorovicici discontinuity)

-นิยมเรียกสั้นๆว่า โมโฮ เป็นรอยต่อระหว่างเปลือกโลกกับเนื้อโลก ศึกษาได้จากส่วนล่างของกลุ่มหินโอฟิโอไลต์ และจากส่วนประกอบของหินที่พบบริเวณเปลือกโลก
ที่มา หนังสือโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ หน้าที่14

- ชั้นเนื้อโลก (Mantle)  เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากชั้นเปลือกโลก  ส่วนมากเป็นของแข็งมีความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร นับจากฐานล่างสุดของเปลือกโลกจนถึงตอนบนของแก่นโลกชั้นเนื้อโลกส่วนบนเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความเปราะชั้นเนื้อโลกส่วนกับชั้นเปลือกโลก รวมตัวกันเรียกว่า  ธรณีภาค  ชั้นธรณีภาคมีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไปชั้นเนื้อโลกถัดลงไปที่ความลึก 100350กิโลเมตร ตอนบนมีอุณหภูมิสูง ตั้งแต่ประมาณ 2,2504,500 C
- ชั้นแก่นโลก (Core)  อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกประมาณ  2,900 กิโลเมตรลงไป แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แก่นโลกชั้นนอกมีความหนาตั้งแต่ 2,9005,100 กิโลเมตร  มีความดันและอุณหภูมิสูงมาก อาจสูงถึง 6,000 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น