บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/36/Wegener_Alfred_signature.jpg/220px-Wegener_Alfred_signature.jpg |
-ในปีพ.ศ.2458 นักอุตุนิยมชาวเยอรมัน ชื่อ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์
ได้ตั้งสมมติฐานว่าแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันเรียกว่า “พันเจีย” ซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่าแผ่นดินทั้งหมด
-พันเจียเป็นมหาทวีปที่คลุมพื้นที่จากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตรคือลอเรเซีย
และส่วนใต้เส้นศูนย์สูตรคือกอนด์วานาและเวเกเนอร์และคณะได้อธิบายสมมติฐานโดยใช้หลักฐานจาก
1.หลักฐานจากรอยต่อของทวีป
2.หลักฐานจากความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวภูเขา
3.หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง
4.หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์
และหลักฐานข้อมูลทางธรณีวิทยาอื่นๆที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีปได้แก่
สันเขาใต้สมุทร
,ร่องลึกใต้สมุทร
,อายุหินบริเวณพื้นที่มหาสมุทร
และภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล
ที่มา http://www.vcharkarn.com/uploads/images/Reversal_eng.jpg |
-สนามแม่เหล็กโลกบรรพกาล คือ
ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีต
นิยมศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์เป็นองค์ประกอบ
ในขณะที่ลาวาบะซอลต์ไหลบนผิวโลกอะตอมของธาตุเหล็กที่อยู่ในแร่แมกนีไทต์จะถูกเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กโลกทำให้มีการเรียงตัวในทิศทางเดียวกับเส้นแรงแม่เหล็กโลก
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
-เกิดจากการถ่ายโอนความร้อนภายในโลกซึ่งมีเปลือกโลกเป็นของแข็งหุ้มไว้โดยบริเวณส่วนล่างของสันเขาใต้สมุทรจะมีสารร้อนไหลเวียนขึ้นมา
เมื่อสารร้อนมีอุณหภูมิลดลงจะมีความหนาแน่นมากขึ้น และมุดตัวลงสู่ชั้นเนื้อโลกบริเวณร่องลึกใต้สมุทร
ที่มา http://ttpote.weebly.com/uploads/1/7/0/3/17036548/6181214.png?442 |
ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
-แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกันเนื่องมาจากการดันตัวของสารร้อนในชั้นฐานธรณีทำให้แผ่นธรณีโก่งตัวขึ้น
ส่วนยอดจะยืดออกและบางลง พร้อมกับเกิดรอยแตกและทรุดตัวลงกลายเป็นหุบเขาทรุด
ในขณะเดียวกันความดันในชั้นฐานธรณีจะลดลงทำให้หินในชั้นฐานธรณีหลอมละลายบางส่วนเกิดเป็นแมกมาและแทรกตัวขึ้นมาทำให้แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
ที่มา http://ttpote.weebly.com/ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น