บทที่ 4
ธรณีประวัติ
4.1 อายุทางธรณีวิทยา
-อายุเทียบสัมพันธ์หรืออายุเปรียบเทียบ
(Relative age)คือช่วงระยะเวลาอายุทางธรณีวิทยาโดยศึกษาจากชั้นหิน
หรือการลำดับชั้นหินลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ
โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กับดัชนีต่างๆ รายงานวิชาการอื่นๆ
ที่พบในชั้นหิน
-อายุสัมบูรณ์
(Absolute age) หมายถึง
เป็นระยะเวลาที่สามารถบ่งบอกอายุที่แน่นอนลงไป
4.2 ซากดึกดำบรรพ์
ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/images/Trilob.jpg |
ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/images/arcyopterric.jpg |
คือ
ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนั้นก่อนยุคประวัติศาสตร์
เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง ซากก็ถูกทับถม ฝังอยู่ในดิน
-ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน
เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว
มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด
และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป
-ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย เช่น ไดโนเสาร์ ที่อำเภอภูเวียง จ.ขอนแก่น
เป็นไดโนเสาร์กินพืช เดินสี่เท้า คอและหางยาว ชื่อ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ต่อมาพบที่ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
อีกทั้งยังพบ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น
กะโหลกหมูเมอริโคโปเตมัส ซึ่งเคยมีชีวิตเมื่อ
8-6 ล้านปี
จะเห็นได้ว่าส่วนมากจะพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง
ซึ่งเป็นหินในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย-ครีเตเชียตอนกลางหรือ 200-100 ล้านปี ซากพืช
ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเล
ไม้กลายเป็นหิน
4.3 การลำดับชั้นหิน
ที่มา http://photos1.blogger.com/blogger/6864/3170/1600/layer1.2.gif |
-ชั้นหินที่อยู่ด้านล่างจะสะสมตัวก่อน
และมีอายุมากกว่าชั้นบน นอกจากนี้โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ปรากฏอยู่ในหิน เช่น
รอยเลื่อน รอยคดโค้งของชั้นหิน
รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง ก็สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้
ซึ่งมีความสำคัญในการลำดับชั้นหินตะกอน แต่กรณีที่ไม่มีชั้นหิน
จะต้องนำโครงสร้างทางธรณีวิทยามาพิจารณา
ที่มา https://ampa401.files.wordpress.com/2013/09/76.jpg |
-นอกจากนี้
ลอยเลื่อนต่างๆที่ปรากฏอยู่ในหิน ทำให้ชั้นหินเอียงเท เคลื่อนที่ออกจากแหล่งเดิม
ก็นำมาใช้เป็นหลักฐานของชั้นหินได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น