บทที่ 5 เอกภพ
เอกภพวิทยาในอดีต
นักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์ในรู้จักเอกภพมาตั้งแต่สมัยโบราณ
แต่ความรู้เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์ในอดีตนั้นไม่เหมือนกับในยุคปัจจุบัน
เพราะความคิดเรื่องเอกภพหรือระบบที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งกระทบต่อมนุษย์มีรูปแบบที่แตกต่างกันตามความเชื่อและความสามารถในการสังเกตหรือจินตนาการในแต่ยุคสมัย
ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาประวัติศาสตร์ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมี่ผู้ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเอกภพอย่างไรบ้าง
โดยความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกี่ยวกับระบบที่ใหญ่ที่สุดนี้ จะรวมเรียกว่า “แบบจำลองของเอกภพ” ซึ่งอาจเป็นเพียงความเชื่อที่ไม่มีผลการสังเกตมาสนับสนุนหรืออาจเป็นแบบจำลองที่มีผลการผลการสังเกตรองรับก็ได้
การศึกษาแบบจำลองต่าง ๆ
นี้จะช่วยให้สามารถจินตนาการถึงเอกภพตามรู้และความเข้าใจของนักดาราศาสตร์และนักเอกภพวิทยาในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น
1.แบบจำลองเอกภพของสุเมเรียนและแบบจำลองของชาวบาบิโลน
ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2,000
ปี ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวบาบิโลนได้ริเริ่มสังเกตและจดบันทึกการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง ๆ
เป็นประจำอย่างมีระบบ
โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมเรียนนักประวัติศาสตร์พบว่าเมื่อเวลา
1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวบาบิโลนได้จัดทำแค็ตตาล็อคดาวฤกษ์และดาวเคราะห์พร้อมทั้งได้ระบุเส้นทางการขึ้นตกของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทุก
ๆ วัน สามารถนำผลของความรู้นี้มาใช้ในการทำนายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลบนโลกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
ชาวบาบิโลนจึงมีระบบเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงทำปฏิทินแสดงวันที่และฤดูกาลได้อย่างถูกต้อง
2.แบบจำลองเอกภพของกรีก
การอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
บนท้องฟ้าของขาวกรีกโบราณพัฒนาขึ้นโดยอาศัยข้อมูลและความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมเรียนและชาวบาบิโลน
แต่ชาวกรีกได้พัฒนาคำอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ในท้องฟ้าโดยอาศัยคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ
ชาวกรีกได้ประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของจำนวนและเรขาคณิตในการพัฒนาแบบจำลองเอกภพของพวกเขา
ชาวกรีกคนแรกที่เสนอแนวคิดที่สำคัญมากของวิชาดาราศาสตร์ คือ อาริสโตเติล (Aristotle,
384 – 325 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ซึ่งเสนอว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลม
โดยสังเกตว่าดาวฤกษ์ที่เคลื่อนที่รอบดาวเหนือบางดวงสามารถสังเกตเห็นได้ที่อียิปต์แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ที่กรีซ
นอกจากนั้น อาริสตาร์คัส แห่งซามอส (Aristarchus of Samos, 310 –
230 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวกรีกเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
และโลกจะโคจรครบ 1 รอบ
ในเวลา 1 ปี
แต่ ทอเลมี (C.
Ptolemy ประมาณ ค.ศ. 300)
นักปราชญ์ชาวกรีกเชื่อว่าโลกแบน อยู่กับที่
ดวงดาวเคลื่อนที่รอบโลก โดยมีระยะห่างจากโลกตามลำดับ คือ ดวงจันทร์ ดาวพุธ
ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
ส่วนดาวฤกษ์โคจรรอบโลกรอบละ 1 วันและอยู่ไกลจากโลกมาก
3.แบบจำลองเอกภพของเคพเลอร์
ทิโค
บราห์ (Tycho Brahe, ค.ศ.
1546 - 1601)
นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และจดบันทึกตำแหน่งอย่างละเอียดทุกวันเป็นเวลานับสิบปี
ผลการสังเกตครั้งนี้ทำให้เขาไม่เชื่อในคำอธิบายการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ของโคเพอร์นิคัส
(Nicolous Copernicus, ค.ศ.
1473 -1543) ชาวโปแลนด์ ที่กล่าวว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม
แต่ผลการสังเกตและการสรุปผลนี้ไม่เป็นผลสำเร็จในช่วงที่ทิโค บราห์ยังมีชีวิต
อย่างไรก็ตามเขาได้มอบผลงานทั้งหมดนี้ให้แก่ผู้ช่วยของเขาชาวเยอรมมัน ชื่อ
โยฮัสเนส เคพเลอร์ (Johannes
Kepler,ค.ศ. 1571 - 1630)
เคพเลอร์ได้บันทึกตำแหน่งดาวเคราะห์เพิ่มเติมแล้วจึงตั้งแบบจำลองที่อธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง
ๆ ว่าดาวเคราะห์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี
โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดโฟกัสของวงโคจรรูปวงรีนั้น ส่วนดารฤกษ์ต่าง ๆ
อยู่ในตำแหน่งประจำซึ่งไกลออกไปจากดาวเคราะห์
เคพเลอร์พบว่าการอธิบายข้อมูลจากการสังเกตของทิโค
บราห์ด้วยแบบจำลองของเขาพบว่าแบบจำลองของเขาของเขาจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการอธิบายด้วยแบบจำลองของโคเพอร์นิคัส
ต่อมาภายหลังแบบจำลองเอกภพของเคพเลอร์ได้รับการยอมรับและเป็นกฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อ
ของเคพเลอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
กาลิเลโอเป็นชาวอิตาลี เป็นคนแรกที่ได้ใช้กล้องโทรทัศน์
เพื่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ แบบจำลองของกาลิเลโอเชื่อว่า
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยมีดาวเคราะห์ต่างๆ
เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แบบจำลองของเขาเป็นแบบจำลองที่มีขนาดไม่จำกัด
ซึ่งเชื่อว่ายังมีวัตถุอื่นที่อยู่ไกลกว่าดาวเสาร์ ต่อมา “เซอร์
ไอแซก นิวตัน” ค้นพบว่า
ลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์เกิดจากผลของแรงโน้ม
ทำให้ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยอมรับกฎการเคลื่อนที่ดาวเคราะห์ 3 ข้อ ของเคปเลอร์
กำเนิดเอกภพ
เอกภพเป็นระบบรวมของดาราจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก
เชื่อกันว่าในเอกภพมีดาราจักรรวมอยู่ประมาณ 10,000,000,000
ดาราจักร (หมื่นล้านดาราจักร) ในแต่ละดาราจักรจะประกอบด้วยระบบของดาวฤกษ์ กระจุกดาว เนบิวลา หรือหมอกเพลิง ฝุ่นธุลีคอสมิก ก๊าซ และที่ว่างรวมกันอยู่
ทฤษฎีบิกแบง
ทฤษฎี “บิกแบง” เป็นทฤษฎีกำเนิดเอกภพที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพและเวลาได้อธิบายว่า เอกภพเริ่มจากพลังงานเปลี่ยนสสาร
จากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่ จากอุณหภูมิสูงเป็นอุณหภูมิต่ำ
สสารที่เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นอนุภาคมูลฐานชนิดต่างๆ จากนั้นอนุภาคเหล่านี้จึงรวมตัวกันกลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและฮีเลียม
ซึ่งมีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนกลายเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก
ดวงจันทร์ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ
กาแล็กซี
อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง
อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับ หลุมดำ ที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี่
โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่เกาะกลุ่มอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์
(หลุมดำ คือ บริเวณในอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูง
ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสงสว่างที่เคลื่อนที่เร็ว 300,000
กิโลเมตรต่อวินาที ก็ออกจากหลุมดำไม่ได้ เมื่อไม่มีแสงออกมาหลุมดำจึงมืด)
กาแล็กซีทางช้างเผือก
ในคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ไม่มีแสงจันทร์สว่างหรือแสงไฟรบกวน
จะสังเกตเห็นทางช้างเผือกปรากฏเป็นแถบฝ้าสีขาวจางพาดผ่านท้องฟ้า ขนากกว้างประมาณ
15˚ พาดผ่านเป็นทางยาวรอบท้องฟ้า
โดยมากจะพาดจากขอบฟ้าหนึ่งไปยังอีกขอบฟ้าหนึ่ง
โดยเฉพาะท้องฟ้าในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง (ขณะขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้ที่มุมเงยประมาณ
50˚) กลุ่มดาวคนยิงธนู
กลุ่มดาวนกอินทรีย์และกลุ่มดาวหงส์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือกที่มองเห็นได้ง่าย
ชัดเจนและสวยงามมากกาแล็กซีไม่เท่ากัน
จากการวิจัยเรื่องกลุ่มของกาแล็กซีของนักดาราศาสตร์บางคนสรุปได้ว่า
กาแล็กซีที่สว่างมากที่สุดในกลุ่มกาแล็กซีกลุ่มใดก็ตามถือว่ากาแล็กซีนั้น เป็น “เทียนมาตรฐาน” กล่าวคือ
ช่วยให้นักดาราศาสตร์ใช้ความสว่างของกาแล็กซีนั้นๆทำการศึกษาเรื่องกฎของฮับเบิล
จากการศึกษากลุ่มของกาแล็กซีนี่เอง ทำให้ทราบว่า
การขยายตัวของเอกภพเกิดจากการเคลื่อนที่ของกลุ่มกาแล็กซีแต่ละกลุ่มมากกว่า
แต่ละกาแล็กซีต่างก็เคลื่อนที่ไปจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น