บทที่3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
3.1 แผ่นดินไหว
1.แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร
-แผ่นดินไหว
เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด
กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด
เมื่อแรงเค้น (stress)ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก
หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก
ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว
-คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก
ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์
(epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
2.คลื่นไหวสะเทือน
-.คลื่นในตัวกลาง
(Body wave)เดินทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ผ่านเข้าไปในเนื้อโลกในทุกทิศทาง
ในลักษณะเช่นเดียวกับคลื่นเสียงซึ่งเดินทางผ่านอากาศในทุกทิศทาง คลื่นในตัวกลางมี 2 ชนิด ได้แก่ คลื่นปฐมภูมิ (P wave)และ
คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
ที่มา http://www.edinformatics.com/math_science/p_wave.jpg |
-คลื่นปฐมภูมิ (P wave)เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง
โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป
คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ
6 –7
กิโลเมตร/วินาที
ที่มา http://mrvop.files.wordpress.com/2010/11/1-3-2.gif |
-คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน
มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที
-คลื่นเลิฟ (L wave)เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ
โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
สามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล
-คลื่นเรย์ลี (R wave)เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น
ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง
โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย
4.แนวแผ่นดินไหว
ที่มา http://www.environnet.in.th/wp-content/uploads/2012/12/image0113.png |
-แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปรซิฟิก
เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรง 80% ของการเกิดทั่วโลก เรียกวงแหวนไฟ
-แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและภูเขาหิมาลัยในเอเชีย
15%
ของการเกิดทั่วโลก
-แนวรอยต่อที่เหลืออีกร้อยละ
5 เกิดในแนวสันเขากลางมหาสมุทรต่างๆ
5.ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
มาตราเมอร์แคลลี่
-มาตราเมอร์แคลลี่มีประโยชน์สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีเครื่องตรวจวัดความไหวสะเทือน
โดยการสำรวจพื้นที่่ ออกแบบสอบถาม
สัมภาษณ์ประชาชน
6.ประเทศไทยกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว
รอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทย
-รอยเลื่อนเชียงแสน
-รอยเลื่อนแพร่
-รอยเลื่อนแม่ทา
-รอยเลื่อนเถิน
-รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
-รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
-รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
-รอยเลื่อนระนอง
-รอยเลื่อนคลองมะรุย
3.2 ภูเขาไฟ
ที่มา http://www.vcharkarn.com/uploads/98/98978.jpg |
1.เเนวภูเขาไฟ
เกิดเฉพาะที่เท่านั้น
ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณที่แผ่นธรณีมาชนกัน โดยเฉพาะบริเวณวงแหวนไฟ
ซึ่งจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาในรูปแบบที่ต่างกัน ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด
2.การระเบิดของภูเขาไฟ
ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/volcano/recycle.gif |
-เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการปะทุของแมกมา แก๊ส
และเถ้าจากใต้เปลือกโลก เมื่อเกิดการระเบิด แมกมา เศษหิน ฝุ่นละออง
และเถ้าถ่านของภูเขาไฟจะพ่นออกมาทางปล่องของภูเขาไฟ หรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ
หรือจากรอยแตกแยกของภูเขาไฟ
-แมกมาที่ขึ้นมาสู่ผิวโลกเรียกว่า ลาวา
ลาวาที่ออกมาสู่พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ลาวาเป็นของเหลวหนืด
จึงไหลไปตามความลาดเอียงของพื้นที่
ในขณะเดียวกันถ้าลาวาที่ออกมานั้นมีไอน้ำและแก๊สเป็นองค์ประกอบ แก๊สที่ออกมากับลาวาจะล่องลอยออกไปเป็นฟองอากาศแทรกตัวอยู่ในเนื้อลาวา
เมื่อลาวาเย็นลงจะแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีรูอากาศเป็นช่องอยู่ภายในเรียกว่า
หินบะซอลต์ ถ้าลาวาไหลเป็นปริมาณมากและหนา
ผิวหน้าเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ด้านล่างยังร้อนอยู่ จะเกิดแรงดึงบนผิว ทำให้แตกออกเป็นแท่งจากบนไปล่าง
เรียกว่า หินแท่งบะซอลต์ หรือเสาหินบะซอลต์
3.ผลของการระเบิดของภูเขาไฟที่มีผลต่อภูมิประเทศ
-การระเบิด
ปะทุ ส่วนประกอบของแมกมา
จะทำให้ได้ภูเขาไฟที่มีรูปร่างต่างกัน
4.ภูเขาไฟในประเทศไทย
ที่มา http://dpm.nida.ac.th/main/images/earthquake/et.jpg |
-ประเทศไทยเคยมีการระเบิดของภูเขาไฟ
โดยมีหลักฐานจากหินภูเขาไฟ การระเบิดช่วงสุดท้าย คาดว่าเป็นการระเเบิดแล้วเย็นตัวให้หินบะซอลต์อายุ1.8ล้านปี-10000ปี
5.โทษและประโยชน์จากภูเขาไฟ
โทษของภูเขาไฟ
เมื่อภูเขาไฟระเบิด
จะส่งผลกระทบ ดังนี้
-เกิดมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
-การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
-ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
-สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด
ประโชยน์ของภูเขาไฟ
ถึงแม้ว่าภูเขาไฟจะสร้างความเสียหายมากและเป็นบริเวณกว้าง
ภูเขาไฟก็ยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วย เช่น
-ดินบริเวณรอบภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
-แร่ธาตุต่างๆที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟจะกระจายบริเวณรอบๆภูเขาไฟทำให้เหมาะแก่การทำเหมืองแร่
-ให้เกิดเป็นเกาะ
จึงเป็นการเพิ่มเนื้อที่ส่วนที่เป็นพื้นดิน
และนอกจากนี้ยังทำให้แผ่นดินสูงขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น